ป้ายกำกับ

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิธี Clear counter canon IP1880/1980


Waste Ink Counter Reset  Manual for Service mode ขั้นตอนการเข้า SERVICE MODE1. ปิดเครื่องพิมพ์ แล้วดึงปลั้กออก
2. กดปุ่ม Power ค้างไว้ และ เสียบปลั้ก
3. จากนั้น ให้ใช้นิ้ว กดปุ่ม RESUME 2 ครั้ง โดย
4. กดครั้งที่ 1 ไฟจะขึ้นสีส้ม
5. กดครั้งที่ 2 ไฟจะขึ้นสีเขียว
6. เมื่อทำตามขั้นตอนเรียบร้อยเครื่องจะเข้าสู่ Service Mode เพื่อเคลียร์ด้วยโปรแกรม
ขั้นตอนการใช้โปรแกรม GENERAL TOOL
1.  เรียกโปรแกรมขึ้นมา โดยเข้าไปที่ General Tool MFC Appication แล้วกำหนด Port USB, Set Destination
2. เลื่อนเม้าส์ ไปคลิ๊กเครื่องหมายถูกที่ช่อง  CLEANING  และ  EEPROM CLEAR จากนั้น
3. ให้ใส่กระดาษ 1 แผ่น แล้วกดปุ่ม TEST PETTERN 1 จากนั้นเครื่องจะทำการ RUN แล้วพิมพ์ออกมา 1 แผ่น เป็นอันเสร็จสมบูรณ์
Reset Counter canon MP145,MP150, MP160, MP170, MP180, MP450 and MP460 แบบ Manual

วิธีเคลียร์ซับหมึก (ตัวซับน้ำหมึกเปล่าประโยชน์ต็ม E27)
1. ปิดเครื่อง
2. กดปุ่ม Stop/Reset ค้างไว้ และตามด้วยปุ่ม ON/OFF ค้างตาม
3. ในขณะที่ยังกดปุ่ม ON/OFF ค้างอยู่ ให้ปล่อยมือจากปุ่ม Stop/Reset
4. ยังกดปุ่ม ON/OFF ค้างอยู่ ให้กดปุ่ม Stop/Reset อีก 2 ครั้ง เสร็จแล้วปล่อยมือจากปุ่มทั้ง 2 ปุ่ม
5. ไฟสีเขียวจะกระพริบสักพักแล้วจะหยุด
6. เมื่อไฟกลายเป็นสีเขียวค้าง กดปุ่ม Stop/Reset 4 ครั้ง
7. กดปุ่ม ON/OFF เพื่อปิดปริ๊นท์เตอร์ (บางทีอาจต้องกด 2 ครั้ง เพื่อปิด)
8. เปิดปริ๊นท์เตอร์ ก็จะใช้งานได้ตามปกติ



วิธีรีเซตตลับหมึกให้โชว์ สถานะเต็ม เครื่องฟ้อง E16  ให้ทำตามนี้
1.ถอดปลั๊ก เครื่องพิมพ์ออก
2.กดปุ่ม Power ค้างไว้
3.เสียบปลั๊กเครื่องพิมพ์
4.กดปุ่ม Stop/Reset 2 ครั้ง ปล่อยปุ่ม Power (ครั้งที่ 2 ปล่อยปุ่มพร้อมกัน )
5.หน้าจอจะขึ้นเลข ? 0 ? กดปุ่ม ? + ? 1 ครั้ง หน้าจอจะขึ้นเลข ? 1 ?
6.กดปุ่ม Star Color 2 ครั้ง และกดปุ่ม Power 1 ครั้ง รอกระดาษ Test ออกมา 2 แผ่น
กดแล้ว ต้องรอนานหน่อยนะค่ะ รอจนกว่ามันจะพิมพ์
7.เปิดฝาเครื่องพิมพ์ รอหัวพิมพ์เลื่อนมาทางซ้าย กอดปลั๊กออก และถอดตลับหมึกออกทั้งดำและสี
8.ปิดฝาเครื่องพิมพ์ เสียบปลั๊ก แล้วเปิดเครื่อง (กดปุ่ม Power)
9.เครื่องจะเรียกหาตลับหมึก ให้เปิดฝาเครื่องแล้วใส่ตลับหมึกทั้งสอง ปิดฝาหน้าจอขึ้นเลข 1 OK. พร้อมใช้งาน ลองดูทำดูค่ะ



ที่มา อุ่ย หายไปใหน

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

TeraCopy Pro 1.22

TeraCopy Pro 1.22  โปรแกรมย้ายข้อมูลเร็วกว่า windows 10 เท่า 


http://www.fileserve.com/file/NmeUjbr

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

* Multiple Server Setup Guide * (CS:S dedicate Server

* Multiple Server Setup Guide *

If you would like to support multiple servers/configs running on the same host, there are a few things you need to do:

  1. Launch each server on a separate port, this should be done 20 ports higher than the previous server.
    So if we have server 1 on port 27015, the next one should use port 27035.
  2. Have our server use separate configuration files (This includes server config and mapcycle/motd files, if desired).
Introduction
We are going to create in this example two servers. Server one will be called 'Example #1 - Dust Only' which will only run the popular Dust map, and server 2, 'Example #2 - All Maps', which will run every map in our rotation.
Each of these two servers will have a different map rotation and configuration file, and both will be running CS: Source.
To have this guide work for hl2 deathmatch servers, simply replace references to 'cstrike' with 'hl2mp'.

Important: You must either DELETE cstrike/cfg/server.cfg from your servers game directory in order for this setup to work correctly, OR, have the files contents only contain:


Code:
exec banned_ip.fg
exec_banned_user.cfg
Or any other generic commands that would be executed on all servers.

This is because server.cfg is executed on every map change by srcds, and you cannot tell srcds NOT to execute the file, so to prevent settings in this file overwriting our multiple server config files, we either delete the file itself, or just leave the banned commands in (so the banlists are executed on map change).

It is best to just erase the file and leave:


Code:
exec banned_user.cfg
exec banned_ip.cfg
In the file, so any changes to the banfile contents will be re-read on map change if the contents are changed.

It is also safe to simply delete this file, but you will not have the benefit of the banned list files being re-read on each map change.

Step 1
If not already done, delete cstrike/cfg/server.cfg

Step 2
Now we create server 1's configuration file. Create a new file called server1.cfg in cstrike/cfg (So its accessable in cstrike/cfg/server1.cfg).

Heres what it looks like in our example:
Items in bold you should take note of, as you should change these values in each config file you make for multiple servers.


Code:
// server name
hostname "Example #1 - Dust Only"

// server admin (rcon) passsword
rcon_password "adminpass"

// server join password
sv_password ""

// Advanced RCON
sv_rcon_banpenalty 15
sv_rcon_maxfailures 5
sv_rcon_minfailures 5
sv_rcon_minfailuretime 30

// server cvars
mp_footsteps 1

// only allow 1 player difference between teams
mp_limitteams 1
mp_autoteambalance 1

mp_autokick 0
mp_flashlight 1
mp_tkpunish 1
mp_forcecamera 0
sv_alltalk 0
sv_pausable 0
sv_cheats 0
sv_consistency 1
sv_allowupload 1
sv_allowdownload 1
sv_maxspeed 320
mp_limitteams 2
mp_hostagepenalty 5
sv_voiceenable 1
mp_allowspectators 1
mp_chattime 10
sv_timeout 65

// round specific cvars
mp_freezetime 4
mp_timelimit "25"

mp_roundtime "3"
mp_maxrounds "20"
mp_startmoney "800"
mp_c4timer "45"
mp_fraglimit 0
mp_maxrounds 20
mp_winlimit "10"
mp_playerid 0
mp_spawnprotectiontime 5
mp_friendlyfire "0"

// bandwidth rates/settings
sv_minrate 3000
sv_maxrate 20000
decalfrequency 60
sv_maxupdaterate 100
sv_minupdaterate 30

// server logging
sv_logbans 1
sv_logecho 1
sv_logfile 1
sv_log_onefile 0

//Specify that we want this specific servers logs placed in a folder called logs/server1
//to separate them from another servers logs
sv_logsdir "logs/server1"
log 1

// operation
sv_lan 0
// region the server should appear in under the steam browser
sv_region 0
sv_contact "www.example.com"


// map cycle for this server
mapcyclefile "mapcycleserver1.cfg"

// motd file for this server
// Note: You could simply have this as motd.txt in all config files, so that all servers share the same config file
// This is just an example so you know how to specify individual ones if necessary
motdfile "motdserver1.txt"


// execute our banned suer files
exec banned_user.cfg
exec banned_ip.cfg


// launch our starting map, in this case, de_dust
map de_dust
To review our first servers config file, we have set it up as to have:
  1. A hostname of "Example #1 - Dust Only"
  2. Place all log files for this server in the folder logs/server1 (If this directory does not exist at runtime, it will be created by srcds)
  3. Use the map cycle listed in cstrike/mapcycleserver1.cfg
    Note: Its cstrike/ not cstrike/cfg/ for map cycles and motd files)[/b]
  4. Use a MOTD (Message of the Day, the welcome screen you get when joining your server) in cstrike/motdserver1.txt (Once again, cstrike/ not cstrike/cfg/ for this file)
  5. And launch our starting map, cs_office
Next, we create this servers map cycle and message of the day screen.

Create cstrike/mapcycleserver1.cfg (As per our config file we just made) and in it we would have:

Code:
de_dust
Just one map name to cycle through, since this is our dust only server.

Next, create our MOTD file in cstrike/motdserver1.txt

Code:
Welcome to my 24/7 Dust only server!
You can use simple text based MOTDs as above, or use HTML code to create web based MOTDs.

Code:
<html>
<b>Welcome to my 24/7 Dust only server!</b>
</html>
Obviously you would use something more creative here and easier on the eye, you can include all forms of html formatting tags (tables, divs, background colours etc).

Alternativly, you can specify a URL in the MOTD file on its own line as follows:


Code:
http://www.mydomain.com/motd.html
And CS: Source/HL2: DM will actually load the file from that address given and display it to the user, so you can update your MOTD externally from your servers.

Step 3
Time to launch our newly created server.

To confirm the directory and file structure, you should have:
~/srcds_l/srcds_run
~/srcds_l/steam
~/srcds_l/cstrike/motdserver1.txt
~/srcds_l/cstrike/mapcycleserver1.cfg
~/srcds_l/cstrike/cfg/server1.cfg

Notice how only the server configuration file is in the /cfg folder, the other two files reside in the /cstrike folder.

To launch our server, now type from ~/srcds_l:

Code:
./srcds_run -console -game cstrike -port 27015 +ip 123.123.123.123 +map de_dust +maxplayers 14 +exec server1.cfg
Our command line has the following parameters:

Code:
-console
--> Enable console mode/view

-game cstrike
--> Which game we are making a server for (cstrike or hl2mp)

-port 27015
--> Which port this server should be accessable on. We are using the default of 27015 for our first server.

+ip 123.123.123.123
--> Bind IP Address of this server. This should be your external IP Address, not LAN address.
--> Having this set incorrectly could cause people not being able to join your server, or have 'RCON Not working' via HLSW or ingame console (Connection refused errors).

+map de_dust
--> Which map to start the server on, we already have this defined in our config file, but we do it again in the command line for good measure.

+maxplayers 14
--> How many players may join this server.

+exec server1.cfg
--> The almighty configuration file for this server, we tell srcds to execute this file on startup and load the servers settings.
Your dedicated server should now be operational.

To create our second server, we would repeat the above steps, but instead of creating motdserver1.txt, mapcycleserver1.cfg and server1.cfg, we would call the files motdserver2.txt, mapcycleserver2.cfg and server2.cfg

Then, we would launch the server like so:

Code:
./srcds_run -console -game cstrike -port 27035 +ip 123.123.123.123 +map de_dust +maxplayers 14 +exec server2.cfg
There are two important changes in this command line for our second server.
The -port command now has a parameter of 27035 (thats 20 ports higher than our first server, 27015).
You cannot simply have the next server one port higher, as srcds uses several ports higher for other services than its game port. 20 ports is a safe number to use.

Secondly, we now have +exec server2.cfg, telling the server to execute server2's configuration file, loading a different set of preferences and settings, map rotation and motd file.

To setup the second server, our configuration file would be the same as server1's except we would change thehostname, sv_logsdir, mapcyclefile and motdfile variables to accomodate a different set of settings.

In our mapcycle file for server 2, instead of listing just de_dust (which was our mapcycle for server #1's 'Dust only' server), we would list all of the maps on a new line such as:

Code:
de_dust
de_port
cs_office
...etc
Once the server reaches the end of the rotation, it starts from the top again.

Thats all!
I hope this guide has been helpful.

Creating a Counter-Strike: Source/Half-Life 2: Deathmatch Server Linux Setup Guide



Creating a Counter-Strike: Source/Half-Life 2: Deathmatch Server
Linux Setup Guide

- By Plasma

Step 1
Create a folder called srcds_l (Thats a lower case L for linux!), usually done in your home directory, where you want to base your server installation and have all content stored.

Step 2
Grab hldsupdatetool and put it in your srcds_l directory you just created.


Step 3
Make the hldsupdatetool executable via chmod.


Code:
chmod +x hldsupdatetool.bin
Step 4
Run hldsupdatetool - This just extracts our steam client.

Code:
./hldsupdatetool.bin
Say YES to agree to the following license prompt and your done.

Step 5
Now we will run the Steam client to download the game content.

Two game types are available:

For CS: Source, its: "Counter-Strike Source"
For HL2: Deathmatch, its: "hl2mp" (HL2 Multiplayer, not HL2DM).

To download CS: Source data files for a CS: Source server, type:

Code:
./steam -command update -game "Counter-Strike Source" -dir .
Hit ENTER and you should begin downloading the Counter-Strike Source data files in this directory (~/srcds_l).

This may take a while.

Note: Contrary to what typing ./steam on its own indicates, you DO NOT need to specify OR create a Steam account to download/update your servers.
This was originally a requirement but Valve have since removed it, and the help information has just not been removed from the Linux Steam client.

Once its finished, you will be able to then launch your dedicated server, this will create our initial config file and test everything is ok.

Step 6
Launching a dedicated server. We will launch a server with no determined config to see if everything was successful, and to create an initial config file in cstrike/cfg/server.cfg

Using our example from Step 5, to launch a CS: Source server you type:

Code:
./srcds_run -console -game cstrike -port 27015 +ip 123.123.123.123 +map de_dust +maxplayers 14
Replace 'cstrike' in the above launch command with 'hl2mp' (MP! Not DM) to launch a HL2 Deathmatch server.

Be sure to replace 123.123.123.123 with the EXTERNAL IP you want your server to bind to, not the servers Internal/LAN IP.

Congradulations, your server should now be running!

Step 7
Edit your server configuration to your liking in cstrike/cfg/server.cfg
If it does not exist, create it.

Note: Read the following post in this thread if you would like to know how to setup multiple servers on the same host.

Additionally, you may want to launch your server as follows:

Code:
screen -S css ./srcds_run -console -game cstrike -port 27015 +ip 123.123.123.123 +map de_dust +maxplayers 14
To place the server in a screen session you may detach from once its launched, or place the line in start_server.sh and exeucte it from the command line.

Step 8
Once your all set, in the event a Steam/game update has been released, you will need to update your hlds installation.
To do this, simply run the command we used in Step 5 to initially download our content:

Code:
./steam -command update -game "Counter-Strike Source" -dir .
This will update all files if needed in your installation directory to their latest versions.

Adding a cronjob for this command may be wise so you do not have to constantly remember to update your servers, and that they would be up to date within 24 hours of an update if scheduled to run daily.

ClearOS 5.2 Install Development Tools

# Get yum ready
yum clean all
yum update

# Install Development Tools
yum groupinstall "Development Tools"

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การ setup mikrotik เป็น pppoe client และ sharenet

ขั้นแรกต้อง set Adsl Modem ให้เป็น bridge mode ก่อนนะครับ

จากนั้น เปิดโปรแกรม winbox เชื่อมต่อไปยัง mikrotik

ล้างค่า config ทั้งหมด โดยใช้คำสั่ง
> system  reset
จากนั้น ยืนยันโดยการกด y รอสักพัก แล้ว เชื่อมต่อ mikrotik อีกครั้ง ด้วย winbox

เมื่อ connect ได้แล้ว ให้เปิด terminal ขึ่นมาเพื่อใช้ คำสั่ง cli

ในที่นี้ ผมต่อ ether1 ไปที่ modem และ ether2 ไปที่ pc
ทำการเปิดใช้งาน ether ทั้ง 2 โดยใช้คำสั่ง

/interface enable ether1,ether2

จากนั้นเพิ่ม pppoe-client และใส่ username/password ของ adsl เรานะครับ ตามคำสั่งด้านล่าง


/interface pppoe-client 
add interface=ether1 user="ีuseradsl@3bb" password="passwor-adsl" \
add-default-route=yes use-peer-dns=yes disabled=no

จากนั้นลองตรวจสอบดูว่า เชื่อมต่อได้หรือยัง ใช้คำสั่ง

/interface pppoe-client monitor pppoe-out1
        status: "connected"
        uptime: 14m58s
     idle-time: 0s
  active-links: 1
  service-name: ""
       ac-name: "KKNBS02"
        ac-mac: 00:25:9E:4D:56:03
           mtu: 1480
           mru: 1480
ถ้า status: "connected" แสดงว่าเชื่อมตอได้แล้ว ครับ

เสร็จแล้ว ก็ไปตั้ง ip ฝั่ง lan คือ ether2 ตามนี้
/ip address add address=192.168.88.1/24 interface=ether2

เสร็จแล้วต้อง set firewall 
/ip firewall nat add chain=srcnat src-address=192.168.88.0/24 action=masquerade

/ ip firewall filter
add chain=input connection-state=established comment="Accept established connections"
add chain=input connection-state=related comment="Accept related connections"
add chain=input connection-state=invalid action=drop comment="Drop invalid connections" 
add chain=input protocol=udp action=accept comment="UDP" disabled=no 
add chain=input protocol=icmp limit=50/5s,2 comment="Allow limited pings" 
add chain=input protocol=icmp action=drop comment="Drop excess pings" 
add chain=input in-interface=ether2 src-address=192.168.88.0/24 comment="From our LAN" action=accept
add chain=input action=log log-prefix="DROP INPUT" comment="Log everything else"
add chain=input action=drop comment="Drop everything else"

กำหนด firewall masquerade เสร็จ ก็ต้อง set dhcp server
/ip dhcp-server setup
/ip dns set allow-remote-requests=yes

จากนั้น ก็ ไป renew ip ของ lan card เรา แล้วก็ลองเข้า  net ดู


ข้อมูลจาก "http://wiki.mikrotik.com/wiki/How_to_Connect_your_Home_Network_to_xDSL_Line"

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

การใช้งานโปรแกรมออกแบบตู้ลำโพง BASSBOX PRO

การใช้งานโปรแกรมออกแบบตู้ลำโพง BASSBOX PRO




          โปรแกรม BassBox Pro นั้นถือเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่ได้รับความนิยมอย่างมาก สำหรับมืออาชีพในการออกแบบตู้ลำโพงหรือตู้ซับวูฟเฟอร์ โปรแกรมนี้สามารถช่วยในการออกแบบตู้ซับวูฟเฟอร์ได้หลากหลายรูปแบบ รวมถึงการประยุกต์ใช้งานได้ในกรณีต่างๆ อย่างมากมายอีกด้วย ทั้งระบบเสียงไฮไฟภายในบ้าน, ระบบเสียงเพื่อการชมภาพยนตร์, ระบบเสียงในรถเก๋ง, ระบบเสียงในรถบรรทุก, รถแวน, ระบบเสียงที่เน้นความเป็นมืออาชีพ, ระบบเสียงเพื่อฟังวิเคราะห์ในห้องบันทึกเสียง, ระบบเสียงเพื่อฟังบนเวทีแสดงดนตรี, ระบบเสียงเพื่อสาธารณะ, ระบบเสียงของชิ้นดนตรี และอื่นๆ อีกมากมาย

                โปรแกรม BassBox Pro ช่วยท่านในแนวทางการออกแบบตู้ลำโพงได้ใน 3 กรณีหลักด้วยกัน อันได้แก่

               1) กรณีที่ต้องการทราบว่าลำโพงรุ่นนั้นๆ จะให้เสียงออกมาเป็นเช่นไร เมื่อติดตั้งเข้าไปในตู้บรรจุ

                2) กรณีที่ต้องการทราบว่าลำโพงรุ่นนั้นๆ จะให้เสียงออกมาได้ดังมากเพียงใด และมีขีดจำกัดทางด้านพลังเสียงที่ระดับใด

                3) ช่วยในการออกแบบ/คำนวณขนาดของตู้บรรจุแบบต่างๆ

เราเห็นเสียงของลำโพงได้อย่างไร

                รูปแบบเสียงของลำโพงในส่วนนี้ เราจะเรียกกันว่าการวิเคราะห์สัญญาณขนาดเล็ก “small-signal” เหตุก็เพราะว่ามันเป็นการตรวจสอบลำโพงด้วยกำลังในระดับต่ำ โปรแกรม BassBox Pro จะแสดงในรูปแบบกราฟของเสียงดังต่อไปนี้

                - กราฟการตอบสนองคลื่นปกติ(กราฟการตอบสนองความถี่) [Normalized Amplitude Response]

                - กราฟการตอบสนองทางอิมพีแดนซ์ของระบบ [System Impedance Response]

                - กราฟการตอบสนองทางเฟส [Phase Response]

                - กราฟการตอบสนองของกลุ่มเสียงหน่วง [Group Delay]

ระดับความดังสูงสุดและขีดจำกัดทางกำลังเสียง

                รูปจำลองความดังเสียงของลำโพงนี้ เรามักเรียกกันว่าการวิเคราะห์สัญญาณขนาดใหญ่ “large-signal” เหตุเพราะมันเป็นการตรวจสอบลำโพงด้วยกำลังในระดับสูง โปรแกรม BassBox Pro จะแสดงในรูปแบบกราฟของเสียงดังต่อไปนี้

                - กราฟการตอบสนองของคลื่น ตามกำลังวัตต์หรือแรงดันไฟที่ป้อนเข้าไป [“Custom” Amplitude Response for desired input power or voltage]

                - การขับเคลื่อนและกำลังทางเสียงสูงสุดที่อุณหภูมิจำกัด [displacement and thermal-limited Maximum Acoustic Power]

                - การขับเคลื่อนและกำลังทางไฟฟ้าสูงสุดที่อุณหภูมิจำกัด [displacement and thermal-limited Maximum Electrical Input Power]

                - การขยับกรวยตามกำลังวัตต์หรือแรงดันไฟ [Cone Displacement for a desired input power or voltage]

                - ความเร็วลมที่วิ่งผ่านท่อระบายตามกำลังวัตต์หรือแรงดันไฟ [Vent Air Velocity for a desired input power or voltage]

                โดยที่กราฟต่างๆ ที่ได้จากโปรแกรม BassBox Pro เหล่านี้ ช่วยในการประเมินคุณค่าของงานออกแบบตู้ลำโพง และเติมเต็มเป้าหมายในการออกแบบให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

สัดส่วนของตู้เบส

                โปรแกรม BassBox Pro ได้จัดเตรียมรูปแบบของตู้เบสเอาไว้มากถึง 18 รูปแบบ สำหรับทั้งตู้ปิด, ตู้เปิด และตู้เบสแบบพาสซีฟ-เรดิเอเตอร์ รวมถึงตู้แบนพาสแบบสองและสามห้อง มุมมองของสัดส่วนตู้เบสนั้นสามารถเลือกได้ทั้งมองที่ภายในและมองที่ภายนอก และเห็นเหลี่ยมมุมครบทั้งสามมิติ โดยแสดงเป็นรูปภาพลายเส้นโปร่ง และสำหรับรูปทรงของตู้นี้ผู้ใช้สามารถกำหนดความหนาของไม้ที่จะใช้ทำตู้ได้อย่างอิสระ และแยกส่วนความหนาของไม้ระหว่างด้านประกอบตู้และแผงด้านหน้าตู้ (ในตำแหน่งที่ใช้ยึดลำโพง)ได้ โปรแกรมสามารถคำนวณหาส่วนต่างๆ ได้เอง เมื่อกำหนดสัดส่วนลงไปในโปรแกรมเพียงสองด้านในแต่ละส่วน รวมถึงการคำนวณมุมองศาให้ได้เองจากโปรแกรม

มุมมองของโปรแกรม

                หัวใจหลักของโปรแกรม BassBox Pro ก็คือส่วนที่เป็นหน้าต่างหลักซึ่งรวมถึงช่องงานออกแบบ ในแต่ละช่องงานออกแบบจะยอมให้ผู้ใช้ทำการออกแบบได้อิสระต่อกัน (แต่สามารถใช้ข้อมูลเดียวกันได้) และสามารถทำการออกแบบได้พร้อมกันสูงสุด 10 ช่องงานออกแบบ ทั้งยังสามารถเปิดใช้งานและดูการแสดงผลได้ในเวลาเดียวกัน

                ในกรณีที่เปิดช่องงานออกแบบจนล้นหน้าต่างหลัก ท่านสามารถใช้แถบเลื่อนทางด้านล่างของหน้าต่างหลักเพื่อเลื่อนซ้าย/ขวาดูช่องงานออกแบบแต่ละช่องทั้ง 10 ช่องได้

                หน้าต่างหลักของโปรแกรมสามารถปรับเปลี่ยนขนาดได้ และความสูงของช่องงานออกแบบ ก็จะปรับเปลี่ยนตามไปให้พอดีโดยอัตโนมัติ ส่วนความกว้างของช่องงานออกแบบจะไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้

                องค์ประกอบหลักของส่วนหน้าต่างหลักในโปรแกรม ก็ประกอบด้วย

Title bar
เป็นส่วนแสดงชื่อโปรแกรมรวมถึงปุ่มเพื่อการปรับเปลี่ยนขนาดหน้าต่าง ทั้งย่อเล็กสุด, ขยายใหญ่สุด และปิดโปรแกรม

Minimize button
เป็นปุ่มที่ใช้ย่อโปรแกรม BassBox Pro จากตำแหน่งหน้าจอ ลงไปเก็บไว้ในแถบงานด้านล่างของหน้าจอ โดยยังไม่ปิดใช้งานโปรแกรม และสามารถเรียกคืนกลับมาได้โดยการคลิกที่แถบงานด้านล่าง

Maximize button
เป็นปุ่มที่ใช้ขยายโปรแกรม BassBox Pro ให้มีขนาดเต็มหน้าจอพอดี ซึ่งปุ่มนี้เมื่อคลิกซ้ำอีกครั้งจะเป็นการนำหน้าต่างโปรแกรมหลักกลับไปเป็นขนาดเดิมก่อนหน้านี้

Close button
ปุ่มนี้เมื่อคลิกจะมีลักษณะทำงานเหมือนกับปุ่ม Quit ที่อยู่ในแฟ้มรายการ โดยมันจะทำการปิดโปรแกรม และก่อนที่โปรแกรมจะถูกปิดลงนั้น ท่านอาจจะได้รับข้อความบอกให้ทำการเก็บ/ไม่เก็บข้อมูลในช่องงานออกแบบต่างๆ เสียก่อน

Menu bar
เป็นแถบรายการที่ประกอบด้วยคำสั่งต่างๆ ที่ใช้งานในโปรแกรม โดยคำสั่งต่างๆ เหล่านี้ยังสามารถใช้ปุ่มลัดจากคีย์บอร์ดในการสั่งงานได้เช่นกัน ซึ่งมีปรากฏให้เห็นทางด้านข้างของคำสั่งต่างๆ ในแฟ้มรายการ

Design panel
ช่องงานออกแบบที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับลำโพงที่นำมาใช้ออกแบบ และองค์ประกอบของงานออกแบบ อาทิ รูปแบบตู้ ฯลฯ โดยสามารถเลื่อนดูรายละเอียดได้ทั้งแบบบนลงล่าง และแบบซ้ายไปขวา


Design title bar
แสดงให้ทราบถึงหมายเลขงานออกแบบ และปุ่มเก็บข้อมูล, ปุ่มคัดลอก และปุ่มปิดงานออกแบบ โดยแถบงานนี้จะสว่างขึ้นเมื่อช่องงานออกแบบนี้ถูกเรียกใช้

Save button
ใช้เพื่อจัดเก็บงานออกแบบเข้าไว้ในแฟ้มงานออกแบบของ BassBox ถ้าเป็นงานออกแบบใหม่ ท่านจะได้รับช่องว่างเพื่อตั้งชื่องานออกแบบขึ้นใหม่

Copy button
ใช้เพื่อการคัดลอกช่องงานออกแบบ ซึ่งแนะนำให้ใช้คัดลอกเมื่อต้องการงานออกแบบใหม่ และต้องการนำเอาข้อมูลจากช่องงานออกแบบเดิมไปใช้งานต่อ

Close button
ใช้เพื่อปิดช่องงานออกแบบนั้นๆ โดยต้องตรวจสอบก่อนว่ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงนั้นเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมจะไม่มีการข้ามตัวเลขช่องงานออกแบบ เมื่อปิดช่องงานออกแบบหนึ่งไปแล้ว หมายเลขช่องงานออกแบบจะถูกเรียงลำดับใหม่ทันที

Driver properties button
เป็นปุ่มเพื่อใช้ดึงข้อมูลของตัวขับเสียง(ลำโพง)จากชุดข้อมูลลำโพงที่ต้องการนำมาออกแบบตู้ เพื่อนำเข้ามาเก็บไว้ในหน้าต่างข้อมูลตัวขับเสียง สามารถใช้ปุ่ม Ctrl+D บนคีย์บอร์ดเพื่อสั่งงานนี้ได้

Box properties button
เป็นปุ่มที่ใช้ดีงข้อมูลรูปแบบตู้ จากชุดข้อมูลการออกแบบตู้ เพื่อนำมาเก็บไว้ในหน้าต่างข้อมูลรูปแบบตู้ สามารถใช้ปุ่ม Ctrl+B บนคีย์บอร์ดเพื่อสั่งงานนี้ได้

Room/Car properties button
เป็นปุ่มที่ใช้ดึงข้อมูลสภาพเสียงจากโครงสร้าง/จากรถยนต์ จากงานออกแบบลำโพงที่เลือกไว้เพื่อใช้กับในห้องหรือในรถยนต์ สามารถใช้ปุ่ม Ctrl+A บนคีย์บอร์ดเพื่อสั่งงานนี้ได้

Plot button
ใช้ปุ่มนี้เพื่อสั่งให้แสดงผลกราฟของงานออกแบบเพียงหนึ่งเดียวหรือทั้งหมด และแบบเฉพาะกราฟตอบสนองความถี่อย่าง หรือรวมกราฟที่ต้องแสดงทั้งหมด

Single Window Mode
เป็นการแสดงผลกราฟแต่ละครั้งในหน้าจอเดียว เมื่อคลิกที่ปุ่ม Plot หนึ่งครั้ง จะแสดงกราฟทั้งหมดในหน้าต่างเดียว แต่เมื่อกดปุ่ม Alt ค้างไว้ขณะที่คลิกปุ่ม Plot จะแสดงกราฟเฉพาะที่เลือกเอาไว้อย่างเดียว

Individual Window Mode
เป็นการแสดงผลกราฟแต่ละกราฟแยกหน้าจอกัน และสามารถแสดงผลกราฟในแต่ละหน้าต่างได้มากกว่าหนึ่งหน้าต่าง โดยคลิกที่ปุ่ม Plot เมื่อต้องการแสดงผลกราฟเพียงหน้าต่างเดียว ในโหมดนี้ปุ่ม Alt จะไม่แสดงผลอะไร

Plot color
เป็นการเปลี่ยนสีของเส้นกราฟที่แสดงผล มักใช้เมื่อมีการใช้หน้าต่างกราฟแสดงร่วมกันในช่องงานออกแบบต่างๆ เมื่อคลิกที่ปุ่ม Plot การคลิกเปลี่ยนสีของเส้นกราฟนี้จะมีผลเมื่อมีการสั่ง Plot ครั้งต่อไป แต่จะไม่มีผลเปลี่ยนแปลงเส้นกราฟที่แสดงบนหน้าต่างก่อนหน้านี้

Mini preview graph
เป็นกราฟแสดงผลอัตโนมัติ ที่ปกติแสดงผลในส่วนของการตอบสนองความถี่ของชุดงานออกแบบตู้ลำโพง มีช่วงกราฟ 5 Hz ถึง 2k Hz มีสเกลในแนวตั้ง 9 dB/ช่อง โดยจะทำการแสดงกราฟใหม่อัตโนมัติเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของชุดงานออกแบบในลักษณะตามช่วงเวลาจริง สามารถคลิกเมาส์ซ้ายที่บริเวณกราฟเมื่อต้องการปรับปรุง และใช้คลิกเมาส์ขวาเพื่อเลือกคุณสมบัติการแสดงผลได้

Mini box type picture
แสดงภาพจำลองขนาดเล็กของรูปแบบตู้ที่ใช้ในงานออกแบบ ช่วยให้สามารถระบุชนิดของงานออกแบบตู้ได้อย่างรวดเร็ว ภาพจำลองขนาดเล็กนี้ไม่ได้มีขนาดตามมาตราส่วนจริง

Design properties list
เป็นส่วนแสดงข้อมูลของงานออกแบบ ทั้งข้อมูลในส่วนของตัวขับเสียง(ลำโพง)และข้อมูลในส่วนของรูปแบบตู้ ข้อมูลที่แสดงในส่วนนี้ไม่สามารถทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้

Status bar
เป็นตำแหน่งล่างสุดของหน้าต่างหลัก แถบแสดงสถานะนี้ใช้บอกถึง กลเม็ดพิเศษ, โครงสร้าง หรือสภานะของคำสั่งงานต่างๆ


การเริ่มต้นงานออกแบบใหม่

การเริ่มต้นงานออกแบบใหม่ในโปรแกรมนี้ มีวิธีการเข้าถึงได้ 2 ทางด้วยกันคือ วิธีแรกเข้าโปรแกรมโดยใช้ตัวช่วยออกแบบ(Design Wizard) ที่มีขั้นตอนแนะนำเป็นลำดับขั้นในการเริ่มต้นงานออกแบบใหม่ การใช้ตัวช่วยออกแบบนี้ สามารถเลือกใช้ได้ในหน้าต่างเริ่มต้นของตัวโปรแกรม BassBox Pro โดยคลิกที่ปุ่ม Run Design Wizard หรือสามารถเรียกใช้ในหน้าต่างหลักของโปรแกรม โดยเลือกที่เมนู Tools

วิธีที่สองเข้าโปรแกรมโดยเริ่มต้นงานออกแบบใหม่ จากการเลือกที่ช่องคำสั่ง New Design ในเมนู File หรือใช้ปุ่ม Ctrl+N ที่คีย์บอร์ด ภาพหน้าต่างของช่องงานออกแบบแสดงให้เห็นดังนี้


จากนั้นให้เข้าไปที่ driver และ box เพื่อจัดองค์ประกอบในการออกแบบตู้ เมื่อคลิกที่ปุ่ม Driver ของช่องงานออกแบบ (หรือใช้ปุ่ม Ctrl+D) ก็จะปรากฏหน้าต่างขององค์ประกอบตัวขับเสียง (ลำโพง) เพื่อให้ท่านกรอกข้อมูลโดยละเอียด หรืออท่านอาจเริ่มโดยการคลิกที่ปุ่ม Box ของช่องงานออกแบบ (หรือใช้ปุ่ม Ctrl+B) เพื่อเปิดหน้าต่างองค์ประกอบของตู้สำหรับการออกแบบ ไม่มีข้อกำหนดในการเริ่มต้นงานออกแบบที่ตายตัว เพียงแต่แนะนำให้ท่านเริ่มต้นที่การป้อนข้อมูลตัวขับเสียงก่อนแล้วจึงทำการออกแบบตู้จะเหมาะสมกว่า

หลังจากป้อนข้อมูลทั้งในส่วนของ driver และ box เรียบร้อยแล้ว เราขอแนะนำให้ท่านทำการกำหนดสภาพเสียงแวดล้อมให้ถูกต้อง โดยถ้าเป็นการออกแบบเพื่อนำไปใช้กับระบบเสียงรถยนต์ มักจะเป็นปุ่มที่ปรากฏเป็น “Car” ซึ่งถ้าหากเป็นการกำหนดโปรแกรมเพื่อนำไปใช้กับงานออกแบบระบบเสียงบ้าน ตัวปุ่มจะปรากฏเป็น ”Room” โดยท่านสามารถเปลี่ยนการกำหนดนี้ได้ใน “General tab” ของหน้าต่าง Preferences

เป็นเพราะความสัมพันธ์ของพื้นที่ห้องขนาดเล็ก และเหตุผลของ “ผลกระทบตามช่อง” (cavity effects) ภายในของยานพาหนะทั่วไปจึงมีการตอบสนองเสียงเบสเสริมเพิ่มขึ้นได้ถึง +12 dB/Oct ในแถบความถี่ราวๆ 50 Hz การเพิ่มขึ้นของการตอบสนองสภาพเสียงที่ +12 dB/Oct ของยานพาหนะนี้สามารถทำให้เกิดผลกระทบอย่างน่าอัศจรรย์กับการตอบสนองความถี่เสียงเบสรวมของงานออกแบบ สามารถคลิกที่ปุ่ม “Car” (หรือ “Room”) เพื่อเปิดเข้าไปยังหน้าต่าง Acoustic Properties ที่ซึ่งท่านสามารถปรับตั้งการควบคุมนี้ได้ทั้งหมด

เมื่อสิ้นสุดงานออกแบบใหม่ ควรสั่งแสดงผลกราฟและประเมินคุณค่าในประสิทธิผล เพื่อให้ทราบว่าระบบของเราได้การตอบสนองความถี่อย่างที่ออกแบบไว้ไหม? มีระดับความดังเสียงที่เพียงพอหรือไม่? ตัวขับเสียงเองมีระยะชักที่พอเพียงกับกำลังวัตต์สูงสุดจากเพาเวอร์แอมป์หรือไม่? ถ้าเป็นงานออกแบบตู้เปิด ขนาดของท่อต้องใหญ่พอกับปริมาณของลมเพื่อหลีกเลี่ยงเสียงลมหวิวที่ปลายท่อ และมีขนาดพอเหมาะกับการติดตั้งเข้าไปในตู้ลำโพงหรือไม่ รวมถึงมีขนาดพอเหมาะที่จะไม่ทำให้เกิดปัญหาการก้องกำทอนพุ่งพรวด(vent resonance peak) การสังเกตที่กราฟแสดงผลนั้นจะเป็นคำตอบต่อสิ่งเหล่านี้ ถ้าหากผลที่ได้ยังไม่สมบูรณ์ ท่านสามารถทำการปรับเปลี่ยนและสั่งแสดงผลกราฟใหม่อีกครั้ง จนกว่าทุกกระบวนการจะเสร็จสมบูรณ์ ท่านสามารถพิมพ์งานออกแบบนี้ออกทางเครื่องพิมพ์ด้วยคำสั่ง “Print Design” ในเมนู File


รายการคำสั่งในโปรแกรม

คำสั่งเกี่ยวกับงานเอกสาร


New Design
เป็นคำสั่งที่ใช้เพื่อเริ่มต้นงานออกแบบใหม่ หลังจากคลิกที่คำสั่งนี้แล้ว โปรแกรมจะเปิดช่องงานออกแบบขึ้นมาบนหน้าต่างหลัก (สามารถใช้แป้น Ctrl+N ที่คีย์บอร์ดได้)

Open Design
เป็นคำสั่งที่ใช้เพื่อเปิดงานออกแบบที่เคยเก็บเป็นแฟ้มไว้แล้วก่อนหน้านี้ในโปรแกรม หรือในมีเดียอื่นๆ(สามารถใช้แป้น Ctrl+O ที่คีย์บอร์ดได้)

Save Design
เป็นคำสั่งที่ใช้เพื่อจัดเก็บงานออกแบบใหม่หรือที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ โดยมีชื่อแฟ้มและเส้นทางที่จัดเก็บเหมือนเดิม ถ้าเป็นแฟ้มใหม่จะใช้ชื่อมาตรฐานของโปรแกรม (สามารถใช้แป้น Ctrl+S ที่คีย์บอร์ดได้)

Save Design As...
เป็นคำสั่งที่ใช้เพื่อจัดเก็บงานออกแบบใหม่ หรือต้องการคัดลอกงานออกแบบที่ปฏิบัติอยู่ไปยังแฟ้มใหม่และเส้นทางใหม่ โดยชื่อแฟ้มนั้นจะต้องมีนามสกุลเป็น “.bb6” ถ้าไม่กรอกนามสกุลลงไป โปรแกรมจะเติมนามสกุลให้เองอัตโนมัติ

Print Design...
เป็นคำสั่งที่ใช้เพื่อพิมพ์งานออกแบบทางเครื่องพิมพ์ เมื่อคลิกที่คำสั่งนี้โปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง “Print a BassBox Design” ขึ้นมา เพื่อให้ท่านกำหนดโครงร่างของการพิมพ์ (สามารถใช้แป้น Ctrl+P ที่คีย์บอร์ดได้)

Print Setup
เป็นคำสั่งที่ใช้เพื่อเลือกกำหนดเครื่องพิมพ์(กรณีต่อเครื่องพิมพ์หลายเครื่อง) และ/หรือเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดของเครื่องพิมพ์ ที่สำคัญก่อนเลือกใช้คำสั่งนี้ต้องมั่นใจว่าท่านได้ต่อเครื่องพิมพ์เอาไว้เรียบร้อยแล้ว การกำหนดเครื่องพิมพ์นี้ยังสามารถใช้งานผ่านส่วนของหน้าต่าง “Print a BassBox Design” ได้

Quit
เป็นคำสั่งที่ใช้เพื่อการปิดโปรแกรม โดยท่านจะต้องทำการจัดเก็บ/หรือยกเลิกการจัดเก็บก่อนที่จะปิดโปรแกรม (สามารถใช้แป้น Ctrl+Q ที่คีย์บอร์ดได้)



คำสั่งเกี่ยวกับการแก้ไข


Clear Selected Design
เป็นคำสั่งเพื่อล้างข้อมูลเฉพาะงานออกแบบที่กระทำอยู่ ณ ขณะนั้น เมื่อคลิกเลือกคำสั่งนี้ช่องงานออกแบบก็จะว่างเปล่าไม่มีข้อมูลใดๆ เสมือนเริ่มงานออกแบบใหม่ โปรแกรมจะมีคำถามซ้ำให้แน่ใจว่าท่านต้องการล้างข้อมูลจริง เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล

Clear All Designs
เป็นคำสั่งเพื่อล้างข้อมูลในงานออกแบบทั้งหมดที่เปิดใช้งานอยู่ เมื่อคลิกเลือกคำสั่งนี้ช่องงานออกแบบทั้งหมดจะว่างเหล่าเสมือนเริ่มงานออกแบบใหม่ โปรแกรมจะมีคำถามซ้ำให้แน่ใจว่าท่านต้องการล้างข้อมูลเหล่านี้จริงๆ เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล

Close All Designs
เป็นคำสั่งเพื่อปิดช่องงานออกแบบทั้งหมด โปรแกรมจะมีคำถามซ้ำให้แน่ใจว่าท่านต้องการปิดช่องงานออกแบบทั้งหมดนี้จริง เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล

Database > Edit Driver Data
เป็นคำสั่งที่ใช้เพื่อเข้าไปแก้ไขข้อมูลของตัวขับเสียง(ลำโพง)ในฐานข้อมูลตัวขับเสียง สามารถที่จะทำการแก้ไข, เพิ่มเติม และลบล้างข้อมูล

ข้อควรระวัง: เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูลโดยไม่ได้ตั้งใจ ทางที่ดีควรทำการสำรองข้อมูลนี้ไว้ก่อนการแก้ไขใดๆ โดยทำการสำรองข้อมูล (copy) แฟ้ม “htaudio.mdb” ในแฟ้มหลัก BassBox Pro เอาไว้ในเส้นทางอื่นก่อน

Database > Edit Company Data
เป็นคำสั่งที่ใช้เพื่อเข้าไปแก้ไขข้อมูลของชื่อบริษัท/ผู้ผลิตลำโพงในฐานข้อมูลชื่อบริษัทลำโพง สามารถที่จะทำการแก้ไข, เพิ่มเติม และลบล้างข้อมูล

ข้อควรระวัง: เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูลโดยไม่ได้ตั้งใจ ทางที่ดีควรทำการสำรองข้อมูลนี้ไว้ก่อนการแก้ไขใดๆ โดยทำการสำรองข้อมูล (copy) แฟ้ม “htaudio.mdb” ในแฟ้มหลัก BassBox Pro เอาไว้ในเส้นทางอื่นก่อน

Database > Compact Database
เป็นคำสั่งลบข้อมูลในฐานข้อมูลลำโพงแบบชั่วคราว เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ในภายหลัง โดยโปรแกรมจะบีบอัดข้อมูลให้กลายเป็นแฟ้มชื่อ “htaudio.bak” ซึ่งการนำข้อมูลนี้กลับมาใช้ใหม่ก็เปลี่ยนชื่อของแฟ้มแบ็คอัพ จากนามสกุล bak ให้กลับมาเป็น mdb อีกครั้ง

Database > Repair Database
เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคู่กับ Database>Compact Database เพื่อให้สามารถทำการซ่อมแซมความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับฐานข้อมูล อาทิ การไม่สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลได้ หรือมีข้อความแจ้งเตือนว่าไม่ใช่ฐานข้อมูลแบบ Microsoft Access database ให้คลิกเลือกคำสั่งนี้เพื่อนำเอาแฟ้มแบ็คอัพที่เคยทำไว้กลับมาใช้งาน โดยโปรแกรมจะเปลี่ยนนามสกุล bak ให้กลับมาเป็น mdb อีกครั้ง โดยข้อมูลที่ทำการซ่อมแซมนี้อาจไม่อัพเดท หรือมีการตกหล่นของข้อมูลไปบ้าง

Preferences
เป็นคำสั่งเพื่อเข้าไปเปลี่ยนแปลงการจัดโครงร่างของหน้าต่าง และแก้ไของค์ประกอบจัดตั้งในโปรแกรม BassBox Pro โดยโครงร่างและองค์ประกอบเหล่านี้ถูกจัดเก็บเอาไว้ในแฟ้มชื่อ “bbxpref.ini”


คำสั่งเกี่ยวกับกราฟแสดงผล


Display Mode
เป็นคำสั่งเพื่อเลือกการแสดงผลในแบบ “Single Window” และ “Individual Windows” โดยการแสดงผลแบบ “Single Window” นั้นจะรวมเอากราฟแสดงผลทุกหมวดไว้ในหน้าต่างเดียวกัน เพื่อให้ผู้ใช้คลิกเลือกดูได้ทีละกราฟแสดงผลที่แท็ดด้านข้าง เป็นโหมดที่ใช้ได้ดีกับจอแสดงผลที่มีความละเอียดในระดับ VGA และ SVGA เพราะสามารถจำกัดพื้นที่การแสดงผลได้ นอกจากนั้นยังใช้พื้นที่หน่วยความจำและทรัพยากรของระบบน้อยกว่า

การแสดงผลแบบ “individual windows” จะแยกกราฟแสดงผลแต่ละหมวดเพื่อแสดงออกมาในหน้าจอแต่ละหมวดเป็นอิสระ เพื่อให้สามารถดูกราฟแสดงผลแต่ละหมวดได้ในเวลาเดียวกัน

Show Graph > Amplitude--Normalized
เป็นคำสั่งเพื่อแสดงผลกราฟการตอบสนองของคลื่นปกติ ซึ่งมักอ้างอิงถึงการตอบสนองความถี่เสียง มีเส้นมูลฐานปกติที่ 0 dB (สามารถใช้แป้น Ctrl+F1 เพื่อสั่งงานได้)

Show Graph > Amplitude--Custom
เป็นคำสั่งเพื่อแสดงผลกราฟการตอบสนองของคลื่นตามปัจจัยของผู้ใช้ โดยอ้างอิงกับกำลังวัตต์หรือแรงดันไฟที่ป้อนเข้าไปในค่าปัจจัย กราฟหมวดนี้จะแสดงผลในลักษณะของระดับความดังเสียง(SPL) ที่มาตรฐาน 1 เมตร (3.28 ฟุต) ที่ระบุไว้กับค่ากำลังวัตต์หรือแรงดันไฟ ซึ่งโดยปกติกราฟแสดงผลหมวดนี้จะมีระดับความไวที่แตกต่างไปบ้างจากงานออกแบบพื้นฐาน (สามารถใช้แป้น Ctrl+F2 เพื่อสั่งงานได้)

Show Graph > Max Acoustic Power
เป็นคำสั่งเพื่อแสดงผลกราฟของกำลังทางสภาพเสียงสูงสุด เมื่อเทียบวัดที่ระดับความดังเสียง 1 เมตร (3.28 ฟุต) กราฟนี้เป็นการกระจายกำลังทางสภาพเสียงรวมของลำโพงในทุกๆทิศทาง ก่อนการเบี่ยงเบนทางเชิงเส้นและอุณหภูมิสูงเกินกำหนด (สามารถใช้แป้น Ctrl+F3 เพื่อสั่งงานได้)

Show Graph > Max Electric Power
เป็นคำสั่งเพื่อแสดงผลกราฟของกำลังทางไฟฟ้าขาเข้าสูงสุด เป็นกำลังวัตต์สูงสุดจากเพาเวอร์แอมป์ที่ตัวลำโพงสามารถรองรับได้ ก่อนการเบี่ยงเบนทางเชิงเส้นและอุณหภูมิสูงเกินกำหนด (สามารถใช้แป้น Ctrl+F4 เพื่อสั่งงานได้)

Show Graph > Cone Displacement
เป็นคำสั่งเพื่อแสดงผลกราฟการขับเคลื่อนของกรวยลำโพง ตามปัจจัยของกำลังวัตต์หรือแรงดันไฟ โดยแสดงผลเป็นการเบี่ยงเบนของกรวยทั้งที่ตัวขับเสียงและแผ่นช่วยกระจายเสียง ตามปัจจัยของกำลังวัตต์หรือแรงดันไฟที่ป้อนเป็นข้อมูล เส้นกราฟที่มีความเข้มจางลงแสดงว่าอยู่เกินขีดจำกัดของการเบี่ยงเบนเชิงเส้นที่ตัวลำโพง(Xmax) (สามารถใช้แป้น Ctrl+F5 เพื่อสั่งงานได้)

Show Graph > Vent Air Velocity
เป็นคำสั่งเพื่อแสดงผลกราฟการเคลื่อนตัวของลมในท่อระบายเบส ตามปัจจัยของกำลังวัตต์หรือแรงดันไฟ มันจะแสดงให้เห็นถึงความเร็วลมภายในท่อระบายเบส ตามปัจจัยของกำลังวัตต์หรือแรงดันไฟที่ป้อนเป็นข้อมูล เส้นกราฟที่มีความเข้มจางลงแสดงว่ามีความเร็วลมมากกว่า 10% ของความเร็วลมของเสียงในอากาศ อันอาจทำให้เกิดเสียงหอนและเสียงลมหวิวที่ปากท่อได้ (สามารถใช้แป้น Ctrl+F6 เพื่อสั่งงานได้)

Show Graph > System Impedance
เป็นคำสั่งเพื่อแสดงผลกราฟอิมพีแดนซ์ของระบบ โดยแสดงเป็นอิมพีแดนซ์สุทธิของลำโพง ที่รวมถึงผลของเครือข่ายพาสซีฟภายนอก(crossover network) ถ้ามีต่ออยู่, อิมพีแดนซ์ของเครือข่ายการชดเชยเสียง และชุดอุปกรณ์ L-pad ต่างๆ (สามารถใช้แป้น Ctrl+F7 เพื่อสั่งงานได้)

Show Graph > Phase
เป็นคำสั่งเพื่อแสดงผลกราฟการตอบสนองทางเฟส ที่แสดงให้เห็นว่ามีความต่างกันระหว่างสัญญาณขาออกของลำโพงกับสัญญาณขาเข้ามากน้อยเพียงไร การหน่วงรั้งของสัญญาณนี้จะแสดงให้เห็นในเรื่องของการเลื่อนไปของเฟส(phase shift) (สามารถใช้แป้น Ctrl+F8 เพื่อสั่งงานได้)

Show Graph > Group Delay
เป็นคำสั่งเพื่อแสดงผลกราฟของกลุ่มการหน่วงรั้ง เป็นการแสดงให้เห็นถึงความต่างกันระหว่างสัญญาณขาออกของลำโพงกับสัญญาณขาเข้ามากน้อยเพียงไร โดยการหน่วงรั้งนี้จะแสดงให้เห็นเป็นคาบเวลา-มิลลิเซคกั้น (สามารถใช้แป้น Ctrl+F9 เพื่อสั่งงานได้)

Clear All Graph Plots
เป็นคำสั่งเพื่อลบการวาดเส้นกราฟทั้งหมดในกราฟแสดงผล (สามารถใช้แป้น Ctrl+Y เพื่อสั่งงานได้)

Clear All Memories
เป็นคำสั่งเพื่อลบความจำของชุดจดจำรูปคลื่นกราฟทั้งหมด 7 หน่วยความจำ


คำสั่งเกี่ยวกับการทดสอบ


Driver
เป็นคำสั่งเพื่อเริ่มต้นขั้นตอนการทดสอบตัวขับเสียง หรือการหาค่าปัจจัยของลำโพง โดยแต่ละขั้นตอนจะมีภาพจำลองของการต่อชุดวงจร เพื่อแสดงถึงการทดสอบหาค่าพารามิเตอร์ในสัญญาณระดับต่ำ และนำค่าปฏิบัตินั้นมาทำการคำนวณ(โปรแกรมคำนวณให้) ในบางกรณีจำต้องใช้เครื่องมืออื่นๆประกอบตามสมควร(รายการเครื่องมือที่ต้องใช้มีแสดงไว้ในรายการแล้วในขั้นตอนเริ่มต้น)

Passive Radiator
เป็นคำสั่งเพื่อเริ่มต้นขั้นตอนการทดสอบตัวช่วยกระจายเสียง หรือการหาค่าปัจจัยของตัวช่วยกระจายเสียง โดยแต่ละขั้นตอนจะมีภาพจำลองของการต่อชุดวงจร เพื่อแสดงถึงการทดสอบหาค่าพารามิเตอร์ในสัญญาณระดับต่ำ และนำค่าปฏิบัตินั้นมาทำการคำนวณ(โปรแกรมคำนวณให้) ในบางกรณีจำต้องใช้เครื่องมืออื่นๆ ประกอบตามสมควร(รายการเครื่องมือที่ต้องใช้มีแสดงไว้ในรายการแล้วในขั้นตอนเริ่มต้น)




คำสั่งเกี่ยวกับเครื่องมือของโปรแกรม



Design Wizard
เป็นคำสั่งเพื่อเลือกใช้ตัวช่วยงานออกแบบ ตัวช่วยออกแบบในโปรแกรม BassBox Pro จะช่วยในการออกแบบตู้ในลักษณะเป็นขั้นเป็นตอน

Wavelength Calculator
เป็นคำสั่งเพื่อเปิดใช้หน้าต่างการคำนวณความยาวคลื่น ซึ่งสามารถใช้การคำนวณความยาวคลื่นนี้เมื่อต้องการคำนวณหา “คลื่นค้างสะสม” (standing wave) ตามความถี่ของตู้ที่ออกแบบ

Start X-over Pro
เป็นคำสั่งเพื่อเลือกใช้โปรแกรม X-over เมื่อได้ติดตั้งโปรแกรม X-over Pro เข้าไว้ในโปรแกรม BassBox Pro โดยโปรแกรม X-over Pro นั้นเป็นโปรแกรมทำงานเกี่ยวกับการออกแบบพาสซีฟ-ครอสโอเวอร์โดยเฉพาะ


คำสั่งเกี่ยวกับการช่วยเหลือ



On-Screen Manual
เป็นคำสั่งเพื่อเปิดใช้คู่มือบนหน้าต่างโปรแกรม ซึ่งมีการแยกหมวดหมู่เอาไว้อย่างละเอียด (สามารถใช้แป้น F1 ในการสั่งงานได้)

Using Help
เป็นคำสั่งเพื่อเปิดใช้งานความช่วยเหลือในแบบ Microsoft tutorial

About BassBox Pro
เป็นคำสั่งเพื่อเปิดส่วนของข้อมูลโปรแกรม อาทิ หมายเลขซีเรียล, ผู้ใช้ที่ลงทะเบียน และข้อมูลกำหนดสิทธิบัตร

ขอให้สนุกกับการคำนวนครั